ลักษณะหลังโค้ง (THE ROACH BACK)
ลักษณะหลังโค้ง หมายถึง การที่แนวกระดูกสันหลังมีความโค้งนูนขึ้นโดยไม่ขึ้นกับว่า ความโค้งนี้จะมีจุดเริ่มต้นที่ก่อน wither (วิทเทอร์) หรือหลัง wither, ไม่ขึ้นกับว่า ความโค้งนี้เป็นบริเวณส่วนหลังช่วงหน้าหรือส่วนหลังช่วงท้าย และไม่ขึ้นกับว่าความโค้งนั้นจะมีแนวสูงหรือต่ำกว่า wither กล่าวโดยสรุปก็คือ ลักษณะหลังโค้งจะหมายถึง การที่แนวสันหลังมีความโค้งตลอดความยาวของแนวสันหลัง ถึงแม้ว่าจะมีระดับความโค้งที่หลากหลายก็ตาม
สุนัขที่อยู่ในท่าบังคับด้วยสายจูง อาจจะปรากฎแนวสันหลังโค้งหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าพบว่าสุนัขแสดงลักษณะหลังโค้งในขณะที่ยืนอย่างอิสระ อยู่ในลักษณะการวางท่า หรือในการเคลื่อนที่แบบวิ่งเหยาะ ก็จะถือว่าสุนัขนั้นมีลักษณะหลังโค้ง
ลักษณะหลังโค้งพบได้มากที่สุดในสุนัขสายพันธุ์เยอรมัน ทั้งนี้เนื่องมาจากแนวความคิดที่ว่า ลักษณะหลังโค้งเป็นลักษณะของหลังที่มีความแข็งแรง โดยมีการเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้างสมัยโรมันที่มีลักษณะแนวหินโค้ง เช่น สะพานโค้ง เป็นต้น ลักษณะโครงสร้างดังกล่าวจัดเป็นโครงสร้างที่สามารถต้านทานแรงกดลงมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับแนวหลังที่มีลักษณะโค้ง แรงที่ส่วนหลังจะต้องรับเอาไว้ได้แก่ แรงถ่วงที่เป็นน้ำหนักของอวัยวะภายใน, การตั้งท้องที่มีจำนวนลูกมากและด้วยคุณสมบัติของแนวหลังที่โค้งที่มีผลในการรับแรงจำนวนมากนี้ได้ จึงพบว่า สัตว์จำพวกที่มีฟันแทะ หรือขุดโพรงอยู่ในดิน จึงมีโครงสร้างของแนวสันหลังโค้ง ทั้งนี้เพื่อรับน้ำหนักของพื้นดินที่อยู่เหนือขึ้นไปนั่นเอง อย่างไรก็ตามลักษณะหลังโค้งดังกล่าวจะไม่เกิดผลดีต่อการวิ่งของสุนัขเลย
โครงสร้างของกระดูกสันหลังมีลักษณะเหมือนเส้นลวดที่ร้อยด้วยไข่มุกแบน ๆ (คือกระดูกสันหลัง) แนวสันหลังที่มีลักษณะโค้ง จะมีผลต่อประสิทธิภาพของการส่งพละกำลังไปมากด้วยซึ่งสามารถนำมาใช้อธิบายถึง แมวที่มีแนวหลังโค้งแม้เพียงเล็กน้อย แต่จะพบมีกล้ามเนื้อบริเวณหลังมาก เพื่อชดเชยให้มีการส่งพละกำลังมาจากส่วนท้ายมากขึ้น แต่ถ้าเป็นแนวสันหลังตรงจะมีการส่งผ่านพละกำลังไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
เมื่อเปรียบเทียบในแง่ของความแข็งแรง แนวสันหลังโค้งกลับไม่มีความแข็งแรงเลย แนวสันหลังตรงจะมีความแข็งแรงมากกว่าและสามารถทำให้โค้งได้โดยเฉพาะในขณะวิ่งคาบหรือกระโดด ในสุนัขแนวสันหลังตรงถือว่าเป็นแนวสันหลังในอุดมคติ
ในบางครั้งความโค้งของแนวสันหลังอาจเนื่องมาจากกล้ามเนื้อส่วน loin มีลักษณะโค้งเลยทำให้มองเห็นแนวสันหลังโค้งทั้ง ๆ ที่ส่วนของกระดูกสันหลังแท้จริงไม่ได้โค้ง ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากกล้ามเนื้อนี้จะฝังตัวอยู่ที่ส่วนบนของปลายแหลมของกระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งก็จะพบลักษณะโค้งเล็กน้อยเช่นนี้ได้ที่ครีบหลังของปลา ซึ่งเมื่อตรวจดูแนวของหมอนรองกระดูกสันหลังแล้วจะพบว่ายังอยู่ในแนวเส้นตรง
สุนัขพันธุ์เกรย์ฮาวด์ที่เพาะเลี้ยงไว้เพื่อการวิ่งแข่งมักมีส่วนหลังที่แบน แต่อาจมีลักษณะของกล้ามเนื้อ loin ที่โค้ง (ในขณะที่สุนัขอีกกลุ่มหนึ่งที่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามจะมีแนวหลังที่โค้ง) สุนัขที่มีส่วนหลังแบนทำให้วิ่งควบได้รวดเร็ว ทั้งนี้กล้ามเนื้อส่วนหลังจะทำให้แนวสันหลังทำหน้าที่เหมือนสปริงที่รวบรวมพลังงานเอาไว้และปลดปล่อยออกไปในลักษณะก้าวกระโดด แมวเป็นสัตว์ที่มีแนวสันหลังโค้งจึงไม่สามารถวิ่งเหยาะได้เป็นระยะทางไกล ๆ เช่นสุนัขขนาดใหญ่ นอกจากนี้แมวยังมีส่วนของกล้ามเนื้อมากกว่าเมื่อเทียบกับสุนัขและจากการชดเชยด้วยความมีกล้ามเนื้อมากนี้เองแมวจึงสามารถกระโดด ตะครุบและซุ่มโจมตีได้ว่องไว
สุนัขประกวดที่มีสายพันธุ์อเมริกันที่มีลักษณะสวยงามจะมีแนวสันหลังที่เป็นเส้นตรง แต่ก็มักจะพบว่า แนวสันหลังยาวเกินไปและไม่พบความโค้งของกล้ามเนื้อส่วน loin สุนัขเหล่านี้มีความสามารถในการวิ่งเหยาะเป็นอย่างดี แต่วิ่งควบหรือกระโดดได้ดีกว่า แต่มีการวิ่งเหยาะที่ไม่สวยงาม
กล่าวโดยสรุป แนวสันหลังที่โค้งมากเกินไปหรือยาวจนเกินไปจะมีผลทำให้บาดเจ็บง่าย สิ้นเปลืองพละกำลังและขาดประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่มากกว่าแนวสันหลังที่ตรง
แหล่งที่มาข้อมูล : วารสารเช็พเพอด ฉบับที่ 47 (ตุลาคม 2544)
ขอบคุณภาพจาก http://www.facebook.com/media/set/?set=a.295608650463432.78259.294059997284964&type=1
แหล่งที่มาบทความต้นฉบับและรูปภาพ : http://www.gsdinfo.co.uk/Breed%20Info/Tthe%20Back.htm
แหล่งที่มาข้อมูลและรูปภาพเพิ่มเติม : http://davidcavill.wordpress.com/are-germanic-gsds-really-germanic/
อ่านบทความใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com /notes/สมาคมผู้เลี้ยงสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอดแห่งประเทศไทย/ลักษณะหลัง โค้ง-the-roach-back-/515234578513976